สรุปบทที่7
เรื่อง อาร์เรย์ และฟังก์ชันจัดการสตริง
อาร์เรย์ เป็นตัวแปรประเภทหนึ่งที่เหมาะกับการนำไปใช้งานเพื่อประมวลผลกลุ่มชุดข้อมูลเดียวกัน ทำให้อ้างอิงเพื่อใช้งานง่ายกว่า
การอ้างอิงตำแหน่งของอาร์เรย์ในแต่ละอิลิเมนต์ จะใช้เลขดัชนี หรือขับสคริปต์เป็นตัวชี้ระบุ
ตำแหน่งอาร์เรย์ในภาษาซี เริ่มต้นที่ค่าศูนย์
ตัวแปร อาร์เรย์แบบ 1 มิติ และ อาร์เรย์แบบ 2 มิติ มักถูกนำมาใช้งานมากที่สุด
ข้อความหรือสตริง ก็คืออาร์เรย์ของตัวอักขระ
ฟังก์ชันจัดการสตริง ถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ <string.h>
ฟังก์ชั่น strcpy() นำมาใช้เพื่อคัดลอกข้อความไปเก็บไว้ในตัวแปร หรือคัดลอกจากตัวแปรสตริงหนึ่งไปเก็บไว้ยังตัวแปรของอีกสตริงหนึ่ง
ฟังก์ชัน strlen() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อนับจำนวนตัวอักขระที่บรรจุอยู่ในสตริง
ฟังก์ชัน strcmp() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบสตริง 2 ตัว ว่าตรงกันหรือไม่
ฟังก์ชัน strcat() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อผนวกสตริง 2 สตริงเข้าด้วยกัน
ฟังก์ชัน strlwr() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้แปลงข้อความให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก
ฟังก์ชัน strupr() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้แปลงข้อความให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
ฟังก์ชัน strrev() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้งานเพื่อสลับตำแหน่งข้อความแบบกลับหัว
ฟังก์ชัน gets() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อรับค่าข้อความสตริง ซึ่งสามารถบรรจุข้อความระหว่างสตริงได้
ฟังก์ชัน puts() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้พิมพ์ข้อความ หรือตัวแปรสตริง
ฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อแปลงข้อความสตริงที่เก็บตัวเลข มาเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณได้ จะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ <stdlib.h>
ฟังก์ชัน atof() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้แปลงข้อความตัวเลขเป็นค่าตัวเลขที่นำมาคำนวณได้ โดยมีชนิดข้อมูลเป็น double
ฟังก์ชัน atoi() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้แปลงข้อความตัวเลขเป็นค่าตัวเลขที่นำมาคำนวณได้ โดยมีชนิดข้อมูลเป็น int
ฟังก์ชัน atoll() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้แปลงข้อความตัวเลขเป็นตัวเลขที่นำมาคำนวณได้ โดยมีชนิดข้อมูลเป็น long int
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น