วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 ฟังก์ชันการรับและแสดงผล และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์

                                        สรุปบทที่ 5
ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
                  

คำสั่งในภาษาซี ล้วนอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชัน ซึ่งอาจจะเป็นฟังก์ชันมาตรฐานที่ภาษาซีได้จัดเตรียมมาให้แล้ว (ประกาศใช้อยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ต่างๆ) นอกจากนี้ก็ยังมีฟังก์ชันที่เราสามารถเขียนขึ้นเพื่อใช้งานเอง
ตัวอย่างฟังก์ชันที่ภาษาซีจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ฟังก์ชั่น printf() ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ข้อมูล เพื่อแสดงออกทางจอภาพ หรือกรณีต้องการรับค่าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ ก็จะต้องใช้ฟังก์ชัน scanf() เป็นต้น ทั้งนี้การเรียกใช้งานฟังก์ชันดังกล่าว จำเป็นต้องรู้ถึงรูปแบบการเขียน (Syntax) รวมถึงต้องรู้ด้วยว่าฟังก์ชันที่ใช้งานเหล่านี้ ประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ใด







ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลข้อมูล
ในภาษาซี ได้เตรียมฟังก์ชั่นเพื่อการรับและแสดงผลข้อมูลอยู่หลายคำสั่งด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมาเลืิอกใช้งานตามความเหมาะสม
                        
1. ฟังก์ชัน printf()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความหรือตัวแปร
2. ฟังก์ชัน scanf()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปร
3. ฟังก์ชัน getchar()
เป็นฟังก์ชันที่นำมาสำหรับรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไปจะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุด
4. ฟังก์ชัน putcher()
เป็นฟังก์ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระที่ถูกป้อนด้วยฟังก์ชัน getcher() หรือนำมาพิมพ์รหัสพิเศษได้
5. ฟังก์ชัน getch และ getch
ภาษาซีมีฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อการรับค่าตัวอักขระอย่างฟังก์ชัน getch() และ getch() แต่ฟังก์ชันทั้งสองถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์
ฟังก์ชันจัดการจอภาพ
สำหรับฟังก์ชันเพื่อจัดการจอภาพ ในที่นี้กล่าวถึงฟังก์ชันที่ใช่สำหรับการล้างหน้าจอ

                          

1. ฟังก์ชัน clrscr()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ โดยจะล้างข้อความเดิมบนจอภาพออกทั้งหมด
ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
ในบทที่ผ่านมา ได้เรียนรู้เกี่นวกัยตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องหมาย *, /, +, - และ % สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น
ในภาษาซี ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว จะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ <math.h> โดยเฉพาะเครื่องหมายยกำลัง ซึ่งในภาษาในระดับสูงทั่วไป มักจะใช้เครื่องหมาย ^ หรือ **แต่ภาษาซีจะใช้ฟังก์ชัน poe() แทน

                            

บทที่ 4 นิพจน์และตัวดำเนินการ

สรุปบทที่4
         เรื่อง นิพจน์และตัวดำเนินการ
นิพจน์ประกอบด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ และตัวดำเนินการเดินทางคณิตศาสตร์มาประกอบรวมกัน
ตัวดำเนินการพื้นฐานในภาษซีประกอบด้วย
1. ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์
จัดเป็นตัวดำเนินการพื้นฐาน ที่นำมาใช้เพื่อกำหนดการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และโมดูลัส
  2.ตัวดำเนินการยูนารี
ตัวดำเนินการยูนารี ตัวแรกที่กล่าวถึงคือ เครื่องหมายลบที่นำมาใช้นำหน้าค่าตัวเลข
   3.ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ในภาษาซี จะมีตัวดำเนินการที่นำมาใช้เพื่อการเปรียบเทียบค่า
4.ตัวดำเนินการตรรกะ
นอกจากต้วดำเนินการเปรียบเทียบแล้ว เรายังสามารถนำตัวดำเนินการตรรกะมาใช้ร่วมกันได้
5.ตัวดำเนินการกำหนดค่าแบบผสม
จากความรู้ที่ผ่านมา ได้เรียนรู้ถึงการกำหนดค่าให้กับตัวแรมาบ้างแล้ว แต่ในภาษาซี  ยังมีตัวดำเนินการกำหนค่าแบบผสมอีก
6ตัวดำเนินการเงื่อนไข
ตัวดำเนินการเงื่อนไข จะนำมาใช้เพื่อทดสอบค่านิพจน์ทางตรรกะว่าจริงหรือเท็จ
        ตัวดำเนินการแต่ละตัว จะถูกจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังที่แตกต่างกัน โดยการคำนวณจะกระทำกับตัวดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญสูงก่อนเสมอ
        กรณีลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการเท่ากัน โดยปกติการประมวลผลจะกระทำกับตัวดำเนินการจากซ้ายไปขวา ซึ่งหมายถึงจะกระทำกับตัวดำเนินการพบก่อนนั่นเอง
        ตัวดำเนินการที่เรียกว่า การแคสต์ (Casting) นำมาใช้เพื่อแปลงชนิดข้อมูลจากชนิดหนึ่ง มาเป็นอีกชนิดหนึ่งโดยให้ระบุชนิดข้อมูลที่ต้องการภายในเครื่องหมายวงเล็บหน้านิพจน์ที่ต้องการ

บทที่ 3 องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

                สรุปบทที่ 3

เรื่อง  องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล
        ภาษาชีถูกพัฒนาขึ้นโดย เดนนิส ริตชี ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งมีต้นแบบมาจากภาษาบีที่อยู่บนรากฐานของภาษาบีซีพีแอล
         ทางสถาบัน ANSI ได้รับรองมาตรฐานภาษาซีขึ้นมา ภายใต้ชื่อ ANSI-C
 ปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาซีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเวอร์ชั่นต่างๆ มากมายด้วยการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น C++ หรือ C# โดยได้เพิ่มชุดคำสั่งที่สนับสนุนการโปรแกรมเชิงวัตถุ และยังคงรองรับชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาซีดั้งเดิมอยู่ด้วย
ภาษาซีมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าภาษาระดับสูงทั่วไปในหลายๆ ด้านด้วยกัน  คือ
1.      เป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ                   
    2.เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก
    3. มีประสิทธิภาพสูง
    4. ความสามารถในด้านการโปรแกรมแบบโมดูล
    5. มีตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์
    6. ภาษาซีมองตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่แตกต่างกัน ( Case Sensitive )
     โครงสร้างโปรแกรมในภาษาซี แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
    1ตัวประมวลผลก่อน ( Preprocessor Directive )
    2. ฟังก์ชันหลัก
    3. ชุดคำสั่ง
    4คำอธิบายโปรแกรม                                  



                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โครงสร้างภาษาซี   





   
       


   


  กฎเกณฑ์ที่ต้องรู้ในการเริ่มต้นฝึกหัดเขียนโปรแกรมภาษาซี คือ
1.      ที่ส่วนหัวโปรแกรม จะต้องกำหนดตัวประมวลผลก่อนเสมอ
   2. ชุดคำสั่งในภาษาซี จะใช้อักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
   3ตัวแปรที่ใช้งาน ต้องถูกประกาศชนิดข้อมูลไว้เสมอ
   4.ภายในโปรแกรม จะต้องมีอย่างน้อย 1 ฟังก์ชันเสมอ ซึ่งก็คือฟังก์ชัน  main() นั่นเอง
   5สามารถใช้เครื่องหมายปีกกา {  เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของชุดคำสั่ง และเครื่องหมายปีกกาปิด}
   6เมื่อเขียนชุดคำสั่งเสร็จแล้วต้องจบด้วยเครื่องหมาย  ;
   7สามารถอธิบายโปรแกรมตามความจำเป็นด้วยการใช้เครื่องหมาย/*…..*/หรือ //….
       ตัวแปร คือ ชื่อที่ตั้งขึ้นตามกฎการตั้งชื่อตัวแปร เพื่อนำมาใช้จัดเก็บข้อมูล และอ้างอิงใช้งานภายในโปรแกรม

   กฎเกณฑ์การตั้งตัวแปรในภาษาซี ประกอบด้วย
1.      สามรถใช้ตัวอักษร A ถึง Z หรือ a ถึง z รวมทั้งตัวเลข 0 ถึง 9 และเครื่องหมาย _( Underscore ) มาใช้เพื่อการตั้งชื่อตัวแปรได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ห้ามใช้ตัวเลขนำหน้า 
2.      ชื่อตัวแปร ตัวอย่างเช่น 1digit ถือว่าผิด แต่ถ้าตั้งชื่อใหม่เป็น digit1 หรือ digit_1 ถือว่าถูกต้อง
    2ชื่อตัวแปรสามารถมีความยาวได้ถึง 31 ตัวอักษร (กรณีเป็น ANSI-C )
    3ชื่อตัวแปร จะต้องไม่ตรงกับคำสงวน ( RESERVEDWords )



     ชนิดข้อมูลตัวอักษร เป็นชนิดข้อมูลที่จัดเก็บตัวอักษรหรือตัวอักขระเพียง 1 ตัวเท่านั้นกรณีที่ต้องการจัดเก็บตัวอักขระหลายๆ ตัว เราจะเรียกกลุ่มข้อความนี้ว่า สตริง (String )      
     ชนิดข้อมูลแบบเลขจำนวนเต็ม หมายถึงค่าตัวเลขจำนวนเต็ม ไม่มีทศนิยม ซึ่งประกอบด้วย int และ long int แบบไม่มีทศนิยม นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำเพิ่มเติมนำหน้าชนิดข้อมูลอย่าง short หรือ long ก็ได้
     ชนิดข้อมูลแบบทศนิยม หรือเลขจำนวนจริง คือ ค่าตัวเลขที่สามารถมีจุดทศนิยม โดยชนิดข้อมูลนี้สามารถกำหนดขนาดความกว้างตามความต้องการ เช่น float, double หรือ long double
     ตัวแปรแบบภายใน  จะถูกประกาศใช้งานเฉพาะฟังก์ชันนั้นๆ ดังนั้น หากตัวแปรแบบภายในของและฟังก์ชัน มีการกำหนดชื่อตัวแปรเหมือนกัน จะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัว

   ตัวแปรแบบภายนอก  ถือเป็นตัวแปรสาธารณะที่ทุกๆ โปรแกรมย่อยหรือทุกๆ ฟังก์ชันสามารถใช้งานได้ โดยจะถูกประกาศไว้ภายนอกฟังก์ชัน

บทที่ 2 หลักการเขียนโปรแกรมภาษา C และการติดตั้งโปรแกรม Turbo c++

                                   สรุปท้ายทบที่ 2
หลักการเขียนโปรแกรมภาษาc ประกอบด้วย
1.สร้างโปรแกรม
2.คอมไพล์โปรแกรม
3.เชื่อมโยงโปรแกรม
4.รันโปรแกรม
                        
    :อินเตอร์พรีเตอร์: เป็นตัวแปลภาษาที่จะแปลโปรแกรมแบบทีละคำสั่งพร้อมกับรันโปรแกรมไปในขณะเดียวกัน หากไม่พบข้อผิดใดๆ ก็จะนำคำสั่งถัดไปมาแปลและรันต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งจบโปรแกรม หรือถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด โปรแกรมก็จะหยุดทำงานทันที แล้วจะแจ้งข่าวสารข้อผิดพลาดให้ทราบทางจอภาพ


              
     :คอมไพเลอร์: เป็นตัวแปลภาษาที่จะแปลแบบทั้งโปรแกรม หากแปลแล้วพบข้อผิดพลาด โปรแกรมจะไม่สามารถรันได้ต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้อง แล้วคอมไพล์ใหม่จนกระทั่งไม่พบข้อผิดพลาดใดๆ

                
Turbo c++ เวอร์ชั่น 4.5  เป็นโปรแกรมที่รวมเอดิเตอร์และคอมไพเลอร์ไว้ในตัวเดียวกันสามารถติดตั้งเพื่อใช้งานในระบบปฏิบัติการ Windows ได้ นอกจากนี้ตัวโปแกรมยังมีขนาดเล็ก ทำงานรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเหมาะกับการนำมาใช้งานเพื่อฝึกหัดเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดีเนื่องจากติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวกสามารถหาดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากอินเตอร์เน็ต
                             
    :ชนิดของข้อผิดพลาด: ที่เกี่ยวกับงานเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย
1.ข้อผิดพลาดที่เกิดจากไวยากรณ์
2.ข้อผิดพลาดที่เกิดจากตรรกะโปรแกรม
3.ข้อผิดพลาดในขณะรันโปรแกรม 

                                 

บทที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

ขั้นตอนการเขียนโปรมแกรม สามารถแบ่งออกเป็น5ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. การวิเคราะห์ปัญหา
2. การออกแบบโปรแกรม
3. การเขียนโปรแกรม
4. การทดสอบโปรแกรม
5.การจัดทำเอกสารประกอบ โปรแกรม
                   
:รูปแบบการเขียนโปรแกรม: สามารถแบ่งออกเป็น2รูปแบบด้วยกันคือ
1. การเขียนโปรแกรมเชิงโครสร้าง
2.  การเขียนโปรมแกรมเชิงวัตถุ
                   
:การเขียนโปรแกรมเชิงโครสร้าง: ประกอบด้วย
:ชุดคำสั่งภายในโปรแกรม จะเป็นลำดับขั้นตอน
:มีทางเลือกในการตัดสินใจทางใดทางหนึ่ง
:มีชุดคำสั่งเพื่อการทำซ้ำ
จุดประสงค์ของเทคนิคการออก
แบบโปรแกรมเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย
1.เพื่อสร้างโปรมแกรมให้มีคุณภาพ และทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในโปรแกรม
2.เพื่อสร้างโปรแกรมที่ง่ายต่อการปรับปรุงและแก้ไข
3.เพื่อให้ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมมีระบบระเบียบยิ่งขึ้น
4.เพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็ว และประหยัดต้นทุน
                
อัลกอริทึมหรือขั้นตอนวิธี คือกระบวนการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอน ชัดเจน และมีการรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนครบแล้ว จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามความต้องการ

:อัลกอริทึม:  ที่นำมาใช้เพื่อการ
แก้ปัญหาหนึ่งๆอาจมีความแตกต่างกันได้ แต่ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและเป็นแนวทางที่คิดว่าดีที่สุด
                   
คุณสมบัติของอัลกอริทึม ประกอบด้วย
1.เป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นจากกฎเกณฑ์
2.กฎเกณฑ์ที่สร้างอัลกอริทึมต้องไม่คลุมเครือ
3.การประมวลผลต้องเป็นลำดับขั้นตอน
4.กระบวนการต้องให้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดในปัญหา
5.อัลกอริทึมต้องมีจุดสิ้นสุด

ประสิทธิภาพของอัลกอริทึม จะพิจารณาถึงเกณฑ์พื้นฐานต่อไปนี้
1.อัลกอริทึมที่ดีต้องใช้เวลาในการดำเนินการน้อยที่สุด
2.อัลกอริทึมที่ดีต้องใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด
3.อัลกอริทึมที่ดีต้องมีความยืดหยุ่น
4.อัลกอริทึมที่ดีต้องใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด
5.อัลกอริทึมที่ดีต้องง่ายต่อความเข้าใจ
               
ซูโดโค้ดและผังงาน
ต่างก็สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนของอัลกอริทึมได้
ลำดับขั้นตอนใดบ้าง แต่ผังงานมีข้อจำกัดในเรื่องของการขาดรายระเอียด ดังนั้น ในการทำงานจริงๆแล้วซูโดโค้ดจึงมักถูกนำไปเป็นตัวแทนของอีลกอริทึมมากกว่า
ซูโดโค้ด มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง
ภาษาอังกฤษที่มีความคล้ายคลึงกับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงแต่อย่างไรก็ตาม การเขียนซูโดโค้ดไม่มี
มาตรฐานการเขียนที่ชัดเจนอย่าง
ภาษาระดับสูง ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงหลักการ เพื่อสามารถเขียนซูโดโค้ดให้สามารถสื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ได้อย่างเข้าใจ
หลักการเขียนซูโดโค้ด
1.ถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งให้เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษ
อย่างง่าย
2.ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
3.ควรใช้ย่อหน้าให้เป็นประโยชน์เพื่อแยกคำเฉพาะรวมถึงจัดโครงสร้างการควยคุมให้เป็นสัดส่วนซึ่งการ
กระทำดังกล่าวจะทำให้อ่านง่าย
4.แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงล่างโดยมีทางเดียวและมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
5.กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆอาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูลแต่ต้องกำหนดชื่อโมดูลเหล่านั้นด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้โมดูลนั้น
      
เครื่องหมาย = จะนำมาใช้เพื่อ
การกำหนดค่าและการคำนวณเช่น x = 0 ,sum = x +y
การอ่านหรือรับข้อมูล
สามารถใช้คำสั่งREND,INPUT  และ GET แต่ RENDมักถูกนำมาใช้สำหรับอ่านค่าที่มีอยู่แล้วมาเก็บไว้ในตัวแปรเช่นการอ่านข้อมูลจากไฟล์ในขณะที่ INPUT และGETจะนำไปใช้สำหรับ
การรับค่าข้อมูลผ่านแป้นคีย์บอร์ด
การแสดงผลข้อมูล สามารถใช้
คำสั่ง PRINT,PROMPT และ WRITE แต่ PRINT และ PROMPTมักถูกนำไปใช้สำหรับการพิมพ์ค่าข้อมูลหรือข้อความใน
ขณะที่ WRITE จะนำไปใช้สำหรับ
การบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล
การกำหนดเงื่อนไข จะใช้ประโยค IF….THEN….ELSE โดยหากเงื่อนไขที่ตรวจสอบเป็นจริง ก็จะทำกิจกรรมหลัง THEN แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะทำ
กิจกรรมหลัง ELSE กรณีที่การตรวจสอบเงื่อนไข IF ซ้อนกันหลายๆ ชั้น อาจทำให้แลดูยุ่งเหยิงและตรวจ
สอบยาก ดังนั้น
จึงสามารถใช้คำสั่งCASE…ENDCASE แทนได้
คำสั่งที่ใช้ทำงานเป็นรอบหรือลูป มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน คือ
ลูปWHILE…ENDWHILE
เป็นลูปที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน ดังนั้น หากเงื่อนไขเป็นจริง  ก็จะทำกิจกรรมภายในลูปซ้ำไปเรื่อยๆจนกระทั่ง เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะหลุดออกจากลูปแต่อย่างไรก็ตาม หากเงื่อนไขที่ตรวจสอบครั้งแรกเป็นเท็จก็จะไม่มีการดำเนินกิจกรรมภายในลูปเลย
ลูป DO…UNTIL
เป็นลูปที่อย่างน้อยต้องดำเนินการภายในลูปรอบหนึ่งเสมอ จากนั้นจึงทำการตรวจสอบเงื่อนไข โดยจะวนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงหลุดออกจากลูป
ลูป FOR…NEXT เป็นลูปที่มีการกำหนดรอบการวนซ้ำที่มีจำนวนรอบที่แน่นอน กรณีที่โปรแกรมมีขนาดใหญ่อาจเขียนซูโดโค้ดด้วยการแบ่งออกเป็นโพรซีเยอร์ได้โดยแต่ละโพรซีเยอร์
ต่างก็มีหน้าทีของตนโดยเฉพาะและสามารถเรียกใช้งานได้บ่อยตามที่ต้องการสำหรับการเรียกใช้งานก็จะใช้คำสั่งชุด CALL แล้วตามด้วยชื่อโพรซีเยอร์ และเมื่อทำงานจนสิ้นสุดโพรซีเยอร์นั้นๆแล้วก็จะกลับมายังตัวโปรแกรมหลังเพื่อทำงานชุดคำสั่งในลำดับ
ถัดไป.